หน่วยที่ 5

จัดทำโดย นางสาว บุญสิตา อินทร์พรม  รหัสนักศึกษา 6031280051

หน่วยที่ 5

1.จงอธิบายคำศัพท์เกี่ยวกับหน่วยความจำ

1.1. Computer memory (หน่วยความจำคอมพิวเตอร์)

หน่วยความจำหลักเป็นหน่วยความจำพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพื่อให้หน่วยประมวลผลนำไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำเรียกว่าไบต์ (byte) 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ , เมกะไบต์ (megabyte หรือ MB) มีค่าโดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB , กิกะไบต์ ( gigabyte หรือ GB ) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่งล้านกิโลไบต์และเทราไบต์ ( terabyte หรือ TB ) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ หน่วยความจุของข้อมูลในหน่วยความจำ
8 bits = 1 byte
1024 bytes = 1 kilobyte (KB)
1024 KB = 1 megabyte (MB)
1024 MB = 1 gigabyte (GB)
1024 GB = 1 terabyte (TB)

  

1.2. ROM (รอม)

Read – 0nly memory หรือ ROM เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
 
 

1.3. RAM (แรม)

Random access memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรม บางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (volatile) ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลที่ถูกเก็บในหน่วยความจำแรมจะถูกลบหายไป เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าต้องการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในแรมไว้ใช้งานในอนาคตจะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาบางประเภทจะใช้หน่วยความจำ ที่เรียกว่า flash ROM หรือ flash memory ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ได้

1.4. SD RAM

เป็นวิวัฒนาการยุคถัดไปของเทคโนโลยีหน่วยความจำ DDR2 SDRAM และ DDR SDRAM รุ่นเก่า ซึ่งจะขจัดอุปสรรคเรื่องอัตราการส่งข้อมูลของหน่วยความจำ เพื่อข้ามสู่ความถี่สัญญาณนาฬิการะดับจิกะเฮิร์ซ DDR3 เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ JEDEC ซึ่งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานเซมิคอนดักเตอร์ของ Electronic Industries Alliance (EIA)
หน่วยความจำ DDR3 มีความถี่สัญญาณนาฬิกา และมีแบนด์วิทสำหรับส่งข้อมูลมากขึ้น ใช้แรงดันไฟฟ้าและกินไฟน้อยลงย่อมส่งผลให้หน่วยความจำผลิตความร้อนน้อยลงด้วย หน่วยความจำ DDR3 ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรม ให้สามารถรองรับโปรเซสเซอร์สี่แกนในยุคถัดไป ซึ่งต้องใช้แบนด์วิทสำหรับข้อมูลสูงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น หน่วยความจำ DDR3 มีหลายระดับความถี่สัญญาณนาฬิกาดังนี้ 1066 MHz, 1333 MHz และ 1600 MHz

 1.5. DDR RAM

เรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ
เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) [1] ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย
ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s

 

1.6. Single-channel memory (หน่วยความจำแบบช่องเดียว)

 เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

 1.7. Dual channel memory (หน่วยความจำแบบ Dual channel)

คืออะไร หากจะให้อธิบายง่ายๆเพื่อเป็นความรู้สำหรับคนที่ยังใหม่เรื่องคอมก็เปรียบเทียบง่ายๆคือ ถนน หากเป็นถนนเลนเดียว กรจราจรก็ไม่สะดวก แต่ ถ้าเป็นสองเลน ก็จะสะดวกขึ้น อธิบายแบบนี้คงพอเห็นภาพและเข้าใจได้ใช่ไหม


หากเปรียบเทียบการทำงาน Ram Dual Channel จะส่งข้อมูลได้เร็วกว่า Single channel แม้ว่าจะเป็นแรมขนาดเดียวกันก็ก็ตาม เพระต่างกันที่ Bandwidth ที่ Ram Dual Channel จะมีสูงกว่าถึงเท่าตัว แต่ก็ยังต้องดูองค์ประกอบอื่นๆด้วยว่ารองรับการใช้งานหรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะอัพเกรดกันได้ง่ายๆ หากคอมพ์คุณเป็นบอร์ดรุ่นเก่า หรือ CPU เก่าที่ไม่รองรับ แต่หากเป็นคอมพ์ใหม่ๆ หรือ ต้องการซื้อใหม่ล่ะก็ เลือกใช้ Ram Dual Channel จะคุ้มกว่า เพราะจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน แต่ก็ยังมีหลายๆคนติงว่า หากใช้งานไม่มากมันอาจจะไม่คุ้ม หากไม่ได้ใช้งานอะไรมาก แต่ ปัจจุบันการใช้ ram dual channel นั้นนิยมกันมากกว่าและเมื่อรวมๆแล้วจัดชุดคอมพ์มันก็ไม่ได้แพงอะไรมากนักหากจะเสริม


1

 

1.8 การติดตั้ง RAM 

แรมที่ผมนำมาใช้นี้ เป็นแบบ DDR2 (DDR=Double-Data-Rate Synchronous Dynamic Random) เป็นบัส 533 แต่ปัจจุบันส่วนมาจะใช้ DDR3 หมดแล้วนะครับ
 
-การใส่แรม ทั้งSD-DDR-DDR2-DDR3 ต้องหันให้ถูกด้านด้วยครับ โดยจะมีร่องกันใส่ผิดเอาไว้ มีบางท่าน ใส่ในเคส แต่ทว่า ด้วยความมองไม่เห็น ก็ยัดๆลงไปผิดด้าน ทั้งๆที่ไม่ลง ทำให้เปิดเครื่องแล้วก็มีควันออกมา ทำให้แรมเสียหาย หรือบอร์ดอาจตามด้วย การใส่ดูจากภาพเลยครับ

ถูก

-ผิด

-ถ้าติดตั้งถูกด้าน ร่อมบนสล็อตและแรมจะตรงกัน ก็เอามือกดลงไปตรงๆครับ แล้วก้านล็อคข้างๆจะเด้งเข้ามาเอง แต่ให้แน่ใจ ใช้นิ้วกดให้เข้าล็อคหน่อยดีกว่าครับ

-มีกี่แถว ก็ทำเหมือนๆกันหมดแนะนำให้ใส่เริ่มจากแถวที่ติดCPU ไล่ออกมานะครับ

 

2. กราฟิกการ์ด

รายละเอียดทางเทคนิค
ดังนั้นสิ่งที่ว่าเป็นกราฟิกการ์ด? หนึ่งอาจพิจารณาว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเหมือน บริษัท เมื่อพนักงานที่ บริษัท ต้องการบางสิ่งบางอย่างในการทำงานกราฟิกทำเพื่อให้พวกเขาไปกับกราฟิกแผนกที่แล้วตัดสินใจว่าเพื่อสร้างภาพและวิธีการที่จะได้รับมันบนกระดาษ ผลที่ได้คือความคิดของใครบางคนกลายเป็นภาพที่เสร็จสมบูรณ์ กราฟิกการ์ดทำงานเกือบตรงทางเดียวกัน
กราฟิกการ์ดคือการแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง CPU และจอแสดงผลและกราฟิกการ์ดหน่วยความจำที่เก็บภาพที่สามารถวาดบนหน้าจอ ตั้งแต่หน่วยประมวลผลเป็นดิจิตอลและจอ CFT และส่วนใหญ่จอภาพ TFT เป็นอนาล็อกคุณมีกราฟิกการ์ดที่มีสิ่งที่เรียกว่า RAM-DAC หรือสุ่มเข้าถึงหน่วยความจำดิจิตอลเป็นอะนาล็อกแปลงที่แปลงออกอากาศดิจิตอลภาพ analoga.Eftersom ในหน้าจอนี้ไม่เพียง ขาวดำกราฟิกการ์ดจะต​​้องสร้างพิกเซลทุกคนที่จะแสดงบนหน้าจอและปรับปรุงพวกเขาหลายต่อหลายครั้งที่สอง อดีต ถ้าคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียด 1024 ×ของ 768 พิกเซลและอัตราการปรับปรุง 75 เฮิร์ตซ์ในการปรับปรุงภาพบนหน้าจอ 75 ครั้งต่อวินาที
กราฟิกการ์ดยังต้องเก็บหลายสีเท่าสูงสุดที่สามารถแสดงผล ใน Windows XP ตั้งค่าต่ำสุดสำหรับสี 8 บิต VGA (Video Graphics อาร์เรย์) ซึ่งหมายความว่า 256 สีที่แตกต่างกัน แต่คุณยังสามารถเลือกที่จะแสดงความลึกของสี 32 บิตซึ่งหมายความว่าคุณสามารถแสดง 4.3 พันล้านสี เมื่อคำนวณจำนวนของสีเพื่อที่จะใช้เวลา 2 ถึงพลังของจำนวนบิตสำหรับตัวอย่าง 2 ^ 32 ≈ 4300000000

 

 2.1 ชื่อเรียกอื่นๆของกราฟิกการ์ด

การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

2.2 หลักการทำงานของกราฟิกการ์ด 

การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว

 2.3 ตัวประมวลผลกราฟิกการ์ด (GPU)

คือหน่วยประมวลผลพิเศษที่รับภาระการให้แสงและเงาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแทนหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกราฟิกส์มีได้ทั้งที่เป็นการ์ดหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลักก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในรูปของการ์ดแสดงผล

2.4 หน่วยความจำของกราฟิกการ์ด 

แฟลชไดรฟ์ที่จะลบและเขียนทับ เช่นเดียวกับหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่สำคัญซึ่งหมายความว่าทุกอย่างในหน่วยความจำจะถูกลบเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกปิด
ประเภทหน่วยความจำที่ใช้ในวงจรหน่วยความจำวิดีโอเป็น SDRAM (Synchronous เข้าถึงหน่วยความจำแบบไดนามิก), DDR SDRAM (อัตราดับเบิลข้อมูล SDRAM) SGRAM (Synchronous Graphic RAM) และ VRAM (RAM วิดีโอ) ที่ใช้พอร์ตคู่ทำให้มันเป็นไปได้ที่จะอ่านไปพร้อม ๆ กัน ตามที่คุณเขียน แต่ในกราฟิกการ์ดรุ่นล่าสุดแล้วใช้สิ่งที่เรียกว่า GDDR-3 (Graphics DDR รุ่นที่ 3) แฟลชไดรฟ์ที่รถบัสหน่วยความจำอยู่ในขณะนี้สามารถใช้ได้กับความถี่ได้ถึง 500 MHz และ 256 บิต!

  2.5 มาตรฐานช่องติดตั้งการฟิกการ์ด

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ : เครื่อง PC คอมพิวเตอร์ หรือ notebook ที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการวินโดว์ 98,XP, Vista,7 หรือเครื่อง pocket pc ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows CE และมีสล็อต USB หรือ pcmcia

     2. มีอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายแบบติดตั้งภายในหรือแบบภายอก อุปกรณ์ที่ใช้งานกับเครือข่ายนิราศรัยได้ต้องเป็นมาตรฐาน 802.11 b/g หรือ 802.11 b/g/n หรือ 802.11 a/b/g/n(แนะนำให้ซื้อแบบนี้)

     3. Driver : สามารถดาวน์โหลด Driver ของ Wireless Lan Card ได้จากเวบไซท์ของผู้ผลิตหรือ CD-Rom ที่แนบมากับ Wireless Lan Card
การติดตั้งอุปกรณ์
    การติดตั้งWireless Lan Card์สำหรับเครื่อง notebook หรือ pocket pc โดยนำWireless Lan Cardติดตั้งเข้ากับสล็อต PCMCIA ดังรูป
รูปการติดตั้งWireless Lan Cardบนเครื่อง notebook และ pocket pc
     การติดตั้งWireless Lan Cardสำหรับเครื่อง PC เนื่องจากมาตรฐานเครื่อง PC ไม่มีสล็อต PCMCIA จึงจำเป็นต้องมีการ์ด PCI adapter ซึ่งทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสระหว่างWireless Lan Cardกับสล็อต PCI บนเครื่อง pc มีลักษณะดังรูป

รูปการติดตั้งWireless Lan Cardเข้ากับ PCI adapter

 2.6 การวัดประสิทธิภาพของการฟิกการ์ด

ติดตามและรับเอาประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อโน๊ตบุ๊กของคุณ ด้วยการดาวโหลดไดร์เวอร์ NVIDIA Verde เวอร์ชั่นล่าสุด มีเพียงแค่ NVIDIA เท่านั้น ที่ได้ให้บริการอัพเดตไดร์เวอร์มาตรฐานสำหรับกราฟฟิคชิปในโน๊ตบุ๊ก เพื่อที่จะทำให้กราฟฟิคชิป NVIDIA GeForce หรือ ION ของคุณ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี กับแอพพลิเคชั่นล่าสุด และด้วยการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการ ทั้งในแง่เสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ และความเข้ากันได้กับเกมและแอพพลิเคชั่นมัลติมีเดียนานาชนิด ไดร์เวอร์ NVIDIA Verde จะทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า คุณจะได้สัมผัสประสบการทางการมองเห็นที่ดีที่สุดในโน๊ตบุ๊กของคุณ
  • พิสูจน์มาแล้วด้วยสถิติ 1 ล้านดาวโหลดต่อเดือน สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊ก
  • ประสิทธิภาพที่ถูกปรับแต่งมาอย่างดี และคุณสมบัติในซอฟท์แวร์ใหม่ๆ นำเอาชีวิตมาสู่ฮาร์ดแวร์ที่เป็น NVIDIA ของคุณอีกครั้ง
  • สุดยอดความสามารถในการใช้งาน 3D, Video และการประมวลผลแบบขนาน (Parallel computing) สำหรับเกม ภาพยนตร์ และสื่อดิจิตอลต่างๆ
  • คุณสมบัติในระดับผู้นำในวงการ สำหรับเร่งความเร็วความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ทั้งเทคโนโลยี NVIDIA CUDA , NVIDIA Optimus, NVIDIA 3D Vision , NVIDIA PhysX, NVIDIA SLI และ NVIDIA Pure Video HD
  • เสถียรภาพขั้นสูงสุด กับความเข้ากันได้กับNVIDIA Unified Driver Architecture (UDA)
  • สนับสนุนระบบปฏิบัติการล่าสุด รวมไปถึง Windows 7

 

อ้างอิง

https://notebookspec.com

https://sites.google.com/ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรเจคเตอร์ (Projector)

สแกนเนอร์