โปรเจคเตอร์ (Projector)


นางสาว บุญสิตา  อินทร์พรม รหัสนักศึกษา 6031280051
 
โปรเจคเตอร์ (Projector)

141391_7257584.jpg



โปรเจคเตอร์ (Projector) คืออุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวีซีดี, เครื่องเล่นดีวีดี, และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานราชการ, สถานศึกษา, สำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน เป็นเครื่องฉายภาพขนาดใหญ่ที่สามารถนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ แสดงให้คนดูได้หลายคน ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ

- แบบ LCD (Liquid Crystal Display) เหมาะที่จะใช้งานเช่น Home Entertainment หรือห้องประชุมที่มีผู้ร่วมประชุมไม่มากนัก และการ Present ด้วยภาพ มีสีที่สด สว่าง น่าชม ให้สีที่เป็นธรรมชาติมากกว่า มีความคมชัดและแม่นยำ ที่ค่า lumen เท่ากัน LCD จะสว่างกว่า DLP

- แบบ DLP (Digital Light Processing) เหมาะสำหรับการใช้กับห้องที่มีพื้นที่มาก และข้อมูลที่เป็นแบบตัวเลขหรือตาราง มีค่า Contrast สูง ช่องว่างระหว่างพิกเซลน้อยแต่ละพิกเซลเรียงตัวได้ชิดกันมาก

มีน้ำหนักเบา อายุการใช้งานยาว

ทำไมคนทำงานหรือสำนักงานต้องใช้เทคโนโลยีนี้

เพราะโปรเจคเตอร์มีความสามารถในการขยายสิ่งที่จะแสดงเนื้อหา ตาราง รูปภาพให้ใหญ่และเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อมีการประชุมหรือแสดงตาราง กราฟต่างๆ เวลามีการประชุมหรือPresentงาน โปรเจคเตอร์จะทำให้คนในสำนักงานให้ความสนใจ ตั้งใจและมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่สำนักงานจะนำเสนอมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และโปรเจคเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อน

การใช้งานจะใช้เมื่อไหร่

เมื่อมีการประชุม, การPresent, การสัมมนา, การระดมสมอง, การจัดอบรมพนักงาน, แสดงรูปภาพ กราฟหรือแผนภูมิต่างๆ


141391_75_20100616113115_.jpg

วิธีการติดตั้งและใช้งานอย่างง่ายๆ มีข้อแนะนำได้ดังนี้

1.      ติดตั้งจอภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด เพื่อให้รับภาพได้คมชัดมากขึ้น 

2.      ควรหาที่วางเครื่องโปรเจคเตอร์ให้สูงจากพื้นห้องขึ้นมาพอสมควร เพื่อป้องกันการชนเครื่องและป้องกันฝุ่นละออง 

3.      เตรียมสายต่างๆ ที่จะต่อเข้าเครื่องก่อน จากนั้นจึงนำเครื่องโปรเจคเตอร์วางลงบนที่วาง และหันเลนส์ไปยังจอภาพที่จะฉาย ( ไม่ควรปรับมุมให้แหงนเกิน 45 องศา) จากนั้นจึงต่อสายเข้าเครื่องและเปิดปุ่ม POWER

4.      เปิดฝาครอบเลนส์แล้วรอสักครู่ ภาพจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นบนจอภาพ 

5.      ปรับตัวเครื่อง โดยกะด้วยสายตาให้ได้ระยะและองศาที่ดี หรือดูจากภาพบนจอจนได้ภาพและมุมตามที่ต้องการพร้อมทั้งปรับวงแหวนการปรับระยะ และวงแหวนปรับโฟกัสซึ่งจะอยู่ติดกับเลนส์จนชัดเจน 

6.      เมื่อตรวจรายละเอียดพอคร่าวๆ แล้ว กดปุ่ม AUTO SET UP เพื่อให้เครื่องปรับภาพให้ใกล้เคียงมาตรฐานมากที่สุด ถ้าไม่มีก็ทำการปรับที่ MENU

7.      การปิดเครื่อง กดปุ่ม POWER ให้โปรเจคเตอร์อยู่ในสถานะ STAND BY รอจนเครื่องเย็นจึงค่อยถอดปลั๊ก POWER

การติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ในเรื่องของการต่อเชื่อมนั้น คอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะมีการส่งข้อมูลระหว่าง Notebook กับจอมอนิเตอร์หรือโปรเจคเตอร์ ฉะนั้นคุณจะต้องต่อเชื่อมสายสัญญาณ VGA ให้เสร็จ ก่อนจะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนโปรเจคเตอร์ก็ให้ Standby หรือเปิดเครื่องไว้ได้เลย บางเครื่องต้องเข้าไป set ใน properties ของหน้าจอก่อน ซึ่งสามารถทำได้ดังขึ้นตอนต่อไปนี้ 

1. คลิกปุ่มขวาของเมาส์บน wallpaper 

2. จะปรากฏเมนูขึ้นมาให้เลือก properties 

3. จะปรากฏเมนูอีกอันขึ้นมาแทนให้เลือก setting 

4. เลือก Advance 

5. เลือก Monitor 

6. เลือก ระหว่าง LCD. ของคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Monitor หรือ เลือกให้ออกทั้งสองอย่างพร้อมกัน ถ้าเลือก Monitor ภาพก็จะแสดงออกทางโปรเจคเตอร์ ( ขั้นตอนนี้อาจไม่เหมือนกันแล้วแต่ driver ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ Notebook บางเครื่องก็อาจจะเลือกให้แสดงพร้อมกันไม่ได้ ) นอกจากนี้บางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ก็อาจตั้งความถี่ในการ refresh rate ไม่ถูกต้องทำให้ภาพที่ฉายออกทางโปรเจคเตอร์สั่น หรือภาพอาจไม่อยู่ในตำแหน่ง หรือภาพอาจจะขาดหายได้ โดยเฉพาะโปรเจคเตอร์รุ่นเก่าๆที่ยังไม่ได้แก้ปัญหานี้ ก็ควรจะตั้ง refresh rate ของคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องด้วย ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ของคุณไม่สามรถแสดงภาพออกพร้อมๆ กัน ทั้งมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์แล้วละก็ อาจพอมีทางแก้โดยใช้เครื่องกระจายสัญญาณ VGA ชนิดเข้า 1 ออก 2 โดยต่อเครื่องกระจายสัญญาณเข้ากับคอมพิวเตอร์ Notebook และต่อโปรเจคเตอร์เข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ จากนั้นให้หาจอมอนิเตอร์มาต่อเข้ากับเครื่องกระจายสัญญาณ เท่านี้ก็สามารถดูภาพจากหน้าจอมอนิเตอร์ไปพร้อมๆ กับโปรเจคเตอร์ได้แล้ว


   ประโยชน์การใช้งานโปรเจคเตอร์(Projector) ทำให้เกิด QCDM กับงานคือ

ช่วยการทำงานมีประสิทธิภาพ มีการประชุมกันทำให้เกิดความสามัคคีร่วมกัน มีการร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้คนในองค์กรมีความเข้าใจร่วมกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วและสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแม้ว่าโปรเจคเตอร์อาจมีราคาที่สูงแต่ก็มีความคุ้มค่า มีความสำคัญมากมายในการใช้งาน สามารถใช้งานได้ซ้ำหลายครั้ง เมื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ระบบเสียง 
ระบบเสียง PA เบื้องต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบเสียง PA
ในระบบเสียง PA ส่วนหลักที่สำคัญที่สุดก็คือเครื่องขยายเสียง ขนาดของกำลังวัตต์นั้น จะมีตั้งแต่ 10 วัตต์ไปจนถึงขนาดหลายร้อยวัตต์ และอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับระบบเสียง PA นี้ ระบบเสียงสาธารณะไม่ว่าจะกลางแจ้งหรือในร่มที่มีขอบเขตพื้นที่ใช้งานเป็นบริเวณกว้าง จะเรียกว่า ระบบเสียงประกาศสาธารณะ หรือ PA (Public Address system) ระบบเสียงแบบนี้ พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่างๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, หนังกลางแปลง, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึง ในห้องประชุม เป็นต้น แต่จะมีวิธีการอย่างไร ในการจัดระบบเสียง PA นี้ให้ได้ออกมาดีที่สุด เพราะระบบเสียง PA เป็นระบบเสียงที่มีขนาดพื้นที่ใช้งานมากถ้านำไปเปรียบเทียบกับระบบเสียง ภายในบ้านแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจน ซึ่งระบบเสียงภายในบ้านนั้นไม่ต้องคำนึงอะไรมากนัก เพียงแต่มีเครื่องขยายเสียง เครื่องกำเนิดสัญญาณ และลำโพงเพียง 1 คู่ก็สามารถนำไปใช้งาน ให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังภายในห้องฟังเพลงที่มีขนาดย่อมได้เพียงพอแล้ว แต่ระบบเสียง PA นั้น พื้นที่ในการรับฟังเสียงมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่ามาก ซึ่งจะต้องคำนึง ว่าจุดรับฟังทุกจุดในพื้นนั้นต้องมีผลการรับฟังที่ดีเท่ากันทุกจุดบนพื้นที่ของการกระจายเสียงการที่จะทำ ให้ได้ผลดีดังกล่าวนั้นจะต้องมีความเข้าใจในส่วนประกอบต่างๆ ของระบบเสียง PA ที่จะนำมาใช้งาน ให้ถ่องแท้เสียก่อน มิกเซอร์ ซึ่งจะใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง โดยจะเป็นตัวปรับระดับสัญญาณ อินพุตที่แตกต่างกันหลายๆ อินพุต และมีโวลุ่มหลักสำหรับปรับควบคุมเสียงทั้งหมดอีกขั้นหนึ่ง



ชนิดของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้กับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 2 แบบ คือ
  1. สัญญาณแบบไลน์อินพุต (line level / input) อยู่ในช่วง -20 dBm จนถึง +30 dBm ซึ่งเครื่องกำเนิดสัญญาณที่จัดอยู่ในไลน์อินพุตนี้ ได้แก่ พวกเทปเด็คจูนเนอร์ CD เป็นต้น
  2. สัญญาณแบบบาลานซ์ไลน์ (balanced line) อยู่ในช่วง -80 dBm จนถึง -20 dBm ตัวอย่างของตัวกำเนิดสัญญาณนี้ที่เห็นกันชัดที่สุดก็คือ ไมโครโฟนนั่นเอง



ไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA
  ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์หลักอีกอย่างที่จะต้องนำมาใช้ในระบบเสียงแบบ PA ซึ่งมีใช้กันหลายแบบแต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ที่สำคัญต้องมีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีทิศทางในการับเสียงได้ดีและสายที่ใช้ควรเป็นสายแบบบาลานซ์ไลน์ การนำไมโครโฟนมาใช้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนกับอินพุตของเครื่องขยายเสียงควรให้มีอิมพีแดนซ์เท่ากัน แต่ในการใช้งานจริงนั้นไม่จำเป็นต้องตามหลักการเพราะถ้าอิมพีแดนซ์มีค่าเท่ากันแล้ว ความไวของไมโครโฟนจะลดลงประมาณ 6 dB โดยสูญเสียไปในรูปของอัตราสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงควรจะมากกว่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟนประมาณ 10 เท่าหรือมากกว่าคุณลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างของไมโครโฟนที่ใช้ในระบบเสียง PA นี้ก็คือความไวการรับเสียงดีในทิศทางที่ต้องการเท่านั้นการเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงหอนลงได้ 
ไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติข้างต้นที่นิยมใช้กันมากในระบบเสียงได้ดีในทิศทางตรงหน้าไมโครโฟนเท่านั้น มักเรียกว่า แบบคาร์ดิออยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อเสียงของมันจะตอบสนองได้ดีกับเสียงของผู้พูดเท่านั้น แต่เสียงปรบมือหรือเสียงกรีดร้องจากผู้ชมจะไม่ค่อยมีผลนื่องจากคุณสมบัติที่รับเสียงได้ดี เฉพาะในทิศทางที่เป็นมุมแคบตรงด้านหน้าของมันเท่านั้น สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกันเพราะถ้ามีสายขนาดยาวมาก จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดา หรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบ บาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งา?ในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์ มีระดับสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมันดังนั้นเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมที่เกิดขึ้น จะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่ง

ระบบเสียง Sound/Audio Systems

     
     หมายถึงการนำอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆมาต่อเชื่อมกันให้ทำงานอย่างเป็นระบบ
     จึงเป็นการรวบรวมอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดให้เกิดความสมดุลย์ในการเชื่อมต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



หากแบ่งตามจุดประสงค์การใช้งานด้านเสียงจะแบ่งระบบเสียงตามการใช้งานได้ดังต่อไปนี้
    1. ระบบกระจายเสียงสาธารณะ Public address
  หรือทีรู้จักกันดีว่าว่าระบบ PA เป็นงานระบบเสียงที่ต้องกำหนดบริเวณหรือจุดหวังผลที่ต้องการกระจายเสียงและคุณลักษณะของเสียงที่ต้องการกระจาย เพื่อออกแบบระบบและเลือกใช้อุปกรณ์เสียงต่างๆให้ถูกต้องโดยเฉพาะด้านกำลังขยายเสียงที่ต้องใช้ การจัดย่านความถี่เสียง และตำแหน่งของลำโพง ซึ่งอาจจัดขนาดของระบบตามลักษณะของปริมาณเสียงที่ใช้ในระบบ
    2. ระบบเสียงเพื่อความบันเทิง Entertainment
  มีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงของกลุ่มบุคคลที่ต้องการฟังเสียงจากระบบนั้น อาจเป็นการประกอบการแสดงต่างๆ การร้องเพลง หรือเต้นรำ และความบันเทิงอื่นๆ จึงต้องจัดระบบให้เหมาะสมตามกิจกรรม และระวังปัญหาเรื่องผู้ที่ไม่ต้องการฟังเสิยงหรือไม่ร่วมกิจกรรมบันเทิงนั้นๆ จึงเน้นความสำคัญเรื่องสถานที่จัดงานบันเทิงหรือ Entertainment venue เพื่อระบบเสียงที่ดีด้วย
    3. ระบบเสียงเพื่อการประชุมและการอบรมสัมนา
    มีการบรรยายและแสดงข้อมูลต่างๆ และซักถามโต้ตอบในการประชุมอภิปรายต่างๆ หรือมีการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ จึงต้องมีการออกแบบเรื่องการสื่อสารสองทางหรือ Two-way communication และกำหนดลักษณะการประชุมเพื่อจัดตำแหน่งและคุณสมบัติของอุปกรณ์ในระบบเสียงต่างๆให้ถุกต้อง ถ้าหากเป็นงานขนาดใหญ่อาจต้องใช้สถานที่เฉพาะเช่น Conference centre เพื่อความสะดวกในการออกแบบติดตั้งระบบเสียง
    4. ระบบเสียงเพื่อการสื่อสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์
    อาจคล้ายคลึงกับข้อ 2.1 และ 2.3 ในบางส่วน  แต่มีการกำหนดควบคุมพื้นที่เพื่อเลือกรับส่งข้อมูลเสียง
    5. ระบบเสียงเคลื่อนที่เอนกประสงค์
โดยแต่ละระบบดังกล่าว อาจมีการใช้อุปกรณ์ร่วมกันหรือผสมระบบกันได้ หากมีจุดประสงค์การใช้งานหลากหลายหรือไม่เฉพาะเจาะจง
  

ระบบเสียง ถือเป็นระบบที่ต้องอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมศาตร์เกี่ยวกับเสียงหรือ Audio engineering มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบเพื่อตอบสนองการใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ และ อาจมีการใช้งานร่วมกับระบบภาพและแสง และต้องมีการรวมระบบหรือ System integration เข้าด้วยกันเป็นระบบภาพและเสียง หรือ Audio-visualหรือที่ผู้ใช้สื่อเรียกว่า มัลติมีเดีย Multimedia และบางครั้งอาจรวมระบบควบคุมแสง หรือ Lighting control system เข้ามาด้วยโดยเรียกรวมกันว่าระบบ AVL

ระบบเสียงประกาศ

ระบบเสียงประกาศ ( Public Address Sysem )
เป็นส่วนหนึ่งของระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้เสียงประกาศ ในการสื่อสาร แจ้งเหตุ ให้กับบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ทราบถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น หรือข่าวสารต่าง ๆ ที่ต้องการแจ้งให้ทราบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
Image
ส่วนประกอบของระบบเสียงประกาศ
ลำโพง ( Loud Speaker ) เป็นอุปกรณ์กระจายเสียงที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียงที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง มีให้เลือกใช้ทั้งชนิดติดตั้งบนเพดาน และชนิดแขวน โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่
Image Image
เครื่องขยายเสียง ( Line Amplifier ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงให้เพียงพอกับกำลังวัตต์ของลำโพงที่ใช้ ซึ่งนิยมใช้กับลำโพงชนิดโวล์ทไลน์และเครื่องขยายบางรุ่นมีส่วนของภาคผสมสัญญาณเสียงรวมอยู่ด้วย
Image
ไมโครโฟนสำหรับงานประกาศเสียง ( Paging Microphone ) เป็นอุปกรณ์แปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อนำไปขยายเสียงออกลำโพง โดยสามารถเลือกประกาศเสียงโดขแบ่งตามพื้นที่ หรือส่งเสียงเตือนก่อนประกาศเสียงได้
Image
อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
  • เครื่องผสมสัญญาณเสียง ( Mixer ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับขยายและปรับแต่งสัญญาณเบื้องต้น สำหรับต่ออุปกรณ์แหล่งสัญญาณ เช่น ไมดครโฟน เครื่องเล่นเทป ซีดี เป็นต้น
  • เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นซีดี
  • อื่น ๆ
ตัวอย่างการต่อใช้งานระบบเสียงประกาศ
Image
ตัวอย่างการต่อใช้งานระบบเสียงประกาศ
Image
ระบบเสียงประกาศที่ดี
  • ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ต้องการ มีความชัดเจนและมีความดังใกล้เคียงกัน
  • ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยและทนทานต่อการใช้งาน
  • บริษัทที่ติดตั้งควรมีความน่าเชื่อถือ ในเรื่องของงานบริการ
  • ขนาดของระบบควรออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • ผู้ดูแลระบบมีความสะดวกในการควบคุมระบบ
  • สะดวกในการบำรุงรักษา ดูแลอุปกรณ์ในระบบ  
    เทคโนโลยี ภาพเสียงไร้สาย
     เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH คือ 
    เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เป็นเทคโนโลยีไร้สายระยะสั้นที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ดิจิตอล อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH สามารถใช้งานได้ภายในช่วงระยะ 10 เมตร
    การเชื่อมต่ออุปกรณ์สองชิ้นเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการใช้งานตามปกติ แต่อุปกรณ์บางชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นมากกว่าสองชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน
    ท่านไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อทำการเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องวางอุปกรณ์ใกล้กันและหันเข้าหากันเหมือนการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จากกระเป๋าถือหรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกง
    มาตรฐาน BLUETOOTH เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายพันบริษัททั่วโลก และมีบริษัทจำนวนมากนำไปใช้งานจนแพร่หลายทั่วโลก

    ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูล

    ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูลอาจสั้นลงได้ในกรณีต่อไปนี้
    • มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่น คน, โลหะ หรือกำแพง อยู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ BLUETOOTH
    • มีอุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
    • มีไมโครเวฟใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน
    • มีอุปกรณ์ที่สร้างรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

    การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น

    เนื่องจากอุปกรณ์ BLUETOOTH และระบบ LAN ไร้สาย (IEEE802.11b/g) ใช้งานความถี่เดียวกัน อาจทำให้เกิดการรบกวนกันของคลื่นไมโครเวฟได้ ส่งผลให้ความเร็วการสื่อสารข้อมูลลดลง, เกิดสัญญาณรบกวน หรือไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ หากใช้งานอุปกรณ์ของท่านใกล้กับอุปกรณ์ LAN ไร้สาย หากเกิดกรณีดังกล่าว ให้ดำเนินการดังนี้
    • ใช้งานอุปกรณ์ที่ระยะห่างอย่างน้อย 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย
    • หากใช้งานอุปกรณ์ภายในระยะ 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ให้ปิดอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

    การรบกวนที่มีต่ออุปกรณ์อื่น

    คลื่นไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH อาจส่งผลรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ได้ ให้ปิดอุปกรณ์ของท่านและอุปกรณ์ BLUETOOTH อื่นในสถานที่ต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
    • ในบริเวณที่มีก๊าซติดไฟง่าย, ในโรงพยาบาล, รถไฟ, เครื่องบิน หรือในสถานีบริการน้ำมัน
    • ใกล้ประตูอัตโนมัติหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้
    หมายเหตุ
    • เพื่อให้สามารถใช้งานฟังก์ชั่น BLUETOOTH ได้ อุปกรณ์ BLUETOOTH ที่จะเชื่อมต่อด้วยต้องมีโปรไฟล์เหมือนกับอุปกรณ์ของท่าน
      โปรดทราบว่าแม้อุปกรณ์จะมีโปรไฟล์แบบเดียวกัน แต่อุปกรณ์อาจมีความแตกต่างในรายละเอียดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์นั้นๆ
    • โดยคุณสมบัติของเทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เสียงที่เล่นบนอุปกรณ์นี้จะดีเลย์เล็กน้อยเมื่อเทียบกับเสียงที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH ระหว่างที่ท่านสนทนาโทรศัพท์หรือฟังเพลง
    • อุปกรณ์นี้สนับสนุนระบบความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH เพื่อจัดให้มีการเชื่อมต่อแบบปลอดภัยเมื่อใช้เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH แต่ระบบความปลอดภัยอาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่ใช้ โปรดใช้การสื่อสารข้อมูลด้วยเทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH อย่างรอบคอบ
    • บริษัทไม่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น ในกรณีที่ข้อมูลมีการรั่วไหลระหว่างการสื่อสารข้อมูลด้วย BLUETOOTH
    • อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยฟังก์ชั่น BLUETOOTH ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH ที่กำหนดโดย Bluetooth SIG และต้องผ่านการรับรองแล้ว
      แม้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยจะเป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH ตามที่ระบุข้างต้น แต่อุปกรณ์บางชนิดอาจไม่สามารถทำการเชื่อมต่อหรือใช้งานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติหรือข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์ดังกล่าว
    • อาจมีเสียงรบกวนหรือเสียงกระโดดข้ามเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ BLUETOOTH ที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ของท่าน สิ่งแวดล้อมสำหรับการสื่อสารข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมในการใช้งาน© 2012 Sony Corporation 
       

    Wireless Display ฉายภาพสดไร้สาย

    จากเรื่องของข้อมูล เรามาดูเทคโนโลยีเฉพาะด้านอีกหน่อยที่ถูกพัฒนาให้ไร้สาย นั่นคือ “จอภาพ” ซึ่งในปัจจุบันอาจจะเห็นไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องปริมาณข้อมูลที่ต้องส่ง อาจจะยังไม่สามารถทำความเร็วได้เพียงพอต่อความต้องการ เราจึงเห็นมีการใช้งานแค่บางกรณีเท่านั้น
    แต่เดิมถ้าเราต้องการต่อสายออกจากภาพสำหรับคอมพิวเตอร์ก็จะมีสายอยู่ประมาณ 3 แบบ แบ่งตามหัวที่เชื่อมต่อคือ D-Sub (VGA), DVI และ HDMI อาจจะมีบ้างที่ใช้ Display Port หรือ Thunderbolt ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่อง Mac ดังนั้นเราจึงพบกับปัญหาสายต่อไม่ตรงกับพอร์ตที่มี และต้องหาหัวแปลงมาใช้ให้วุ่นวาย รวมถึงบรรยากาศในห้องประชุมที่คุ้นเคยกับเรื่องสายยาวไม่ถึงทุกจุดทั่วโต๊ะประชุม ทำให้ต้องสลับที่นั่งกันวุ่นวาย
    การใช้ Wireless Display เป็นการยิงสัญญาณภาพไปยังจอภาพที่รองรับ ผ่านทางสัญญาณไร้สาย ซึ่งโดยมากจะเป็น WiFi Direct หรืออาจจะเป็น DLNA โดยมีหลายมาตรฐานในปัจจุบันที่นิยมใช้งานกัน
    อย่างแรกเป็นเทคโนโลยีของ Intel Wi-Di ซึ่งในโน้ตบุ๊กหลายรุ่นที่ใช้ซีพียูของ Intel พร้อมการ์ดจอของ Intel ด้วย ทำให้สามารถใส่ฟังก์ชันนี้เข้าไปได้ และยังสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ของ ChromeCast ได้อีกด้วย

    ChromeCast ใช้สะดวกดี มีอุปกรณ์รองรับเยอะ
    ChromeCast เป็นมาตรฐานของทางฝั่ง Android ซึ่งมือถือหลายรุ่นของ Android รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ Android มักจะมีความสามารถนี้ด้วย และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานที่มีอุปกรณ์รองรับมากที่สุดสำหรับกลุ่ม Wireless Display ก็ว่าได้ เพราะรองรับทั้ง Doogle แบบ HDMI ที่ต่อกับทีวี หรือจะเป็นสมาร์ตทีวีที่รองรับ Screen Mirroring ได้หมดเลย

    Apple TV คิดหนักถ้าจะซื้อ !!
    อีกหนึ่งเทคโนโลยีเป็นของ Apple เอง ซึ่งสามารถยิงภาพสดจากอุปกรณ์ของ Apple ไม่ว่าจะเป็น Mac, iPhone, iPad ได้ โดยใช้ตัวรับคือ Apple TV ที่เชื่อมต่อกับทีวีผ่าน HDMI อีกทอดหนึ่ง ทำให้ Apple TV กลายเป็นอุปกรณ์ที่ดูมีคุณค่าขึ้นมาทันที เพราะสามารถรับสัญญาณภาพจากอุปกรณ์ Apple ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ แต่น่าเสียดายที่ Apple TV รุ่นใหม่นั้นราคาแพงเฉียดหมื่นบาท จากเดิมแค่ 2-3 พันบาท ใครที่คิดจะซื้อมาใช้แค่นี้คงไม่คุ้มแล้วล่ะ
    ที่เหลือก็จะเป็นเทคโนโลยีของโปรเจ็กเตอร์ที่ผู้พัฒนาใส่ฟังก์ชัน WiFi และมีโปรแกรมเฉพาะสำหรับดึงภาพหน้าจอจากคอมพิวเตอร์ไปแสดงบนโปรเจ็กเตอร์ได้ ซึ่งบางเจ้าก็เลือกใช้ ChromeCast ไปเลย ส่วนบางเจ้าจะเลือกพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นของตัวเอง ดังนั้นจะซื้ออุปกรณ์เหล่านี้อาจจะต้องดูรายละเอียดกันหน่อย

    เมาส์คีย์บอร์ดไร้สาย เรื่องง่าย ๆ จ่ายถูก ๆ

    ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร สำหรับเมาส์และคีย์บอร์ดไร้สายที่เราใช้งานกันมาเนิ่นนาน ซึ่งนับวันจะยิ่งมีราคาที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนคุณรู้สึกว่าเพิ่มเงินอีกนิดเดียวก็สามารถซื้อได้แล้ว ไม่แพงเหมือนเมื่อก่อน โดยคีย์บอร์ดไร้สายอย่างเดียวหลัก 2-3 ร้อยบาทก็มีให้เห็นแล้ว ส่วนเมาส์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ประมาณ 4-5 ร้อยบาทขึ้นไป ซึ่งนับว่าถูกมาก และที่ว่ามาทั้งหมดส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นที่ใช้ RF หรือคลื่นวิทยุ 2.4GHz ปกติเท่านั้น โดยสังเกตง่าย ๆ คือจะมี USB Dongle ขนาดเล็กมาให้ ทำให้สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ Android (ที่มีช่องเสียบ USB) ได้เท่านั้น
    อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ไม่ค่อยเห็นมีใครเลือกใช้ในท้องตลาดคือ Bluetooth โดยเมาส์และคีย์บอร์ดแบบ Bluetooth นี้จะถูกใช้โดย Apple เป็นหลัก ส่วนแบรนด์อื่น ๆ จะมีมาให้เห็นบ้างประปราย ซึ่งข้อดีของ Bluetooth คือคุณไม่ต้องเสียพอร์ต USB ไป 1 ช่อง เพราะมันเชื่อมต่อกับสัญญาณ Bluetooth ของเครื่องคอมพิวเตอร์เลย และนั่นคงเป็นเหตุผลที่ Apple เลือกใช้ Bluetooth มากกว่า เพราะให้พอร์ต USB มาน้อยอยู่แล้ว
    เอาเป็นว่าจะเลือกใช้แบบไหนก็ลองไปจับ ๆ ลอง ๆ ดูให้พอใจก่อน เพราะของแบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ แต่ขึ้นอยู่กับความถนัดเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีใครบอกได้นอกจากตัวคุณ

    อีกแบบหนึ่งที่รวมเอาคีย์บอร์ดกับทัชแพดไว้ สะดวกดีเมื่อใช้กับทีวี
    อีกหนึ่งประโยชน์สำหรับคีย์บอร์ดเมาส์ไร้สาย คือการเชื่อมต่อกับสมาร์ตทีวี หรือพวก Android Box ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมการใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานที่ต้องพิมพ์ข้อความยาว ๆ อย่างการแชตกับเพื่อน (บนจอทีวี) การเข้าเว็บ หรือการค้นหาเพลงใน Youtube ซึ่งสมาร์ตทีวีเดี๋ยวนี้ทำได้อยู่แล้ว

    หูฟังไร้สาย จาก Bluetooth สู่ W1

    พูดถึงเรื่องภาพไปแล้ว มาพูดถึงเรื่องเสียงกันบ้าง เพราะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะหูฟังไร้สายที่ออกแบบให้มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเหน็บหูเป็นสมอลทอร์ค หรือจะเป็นหูฟังสเตอริโอสองข้างเหมือนปกติก็มีให้เลือกเช่นกัน แต่ทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน ไม่ต้องมีสายเกะกะให้ผู้ใช้ต้องรำคาญ
    อีกกลุ่มหนึ่งคือลำโพงแบบไร้สายที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ช่วยให้คุณสามารถเล่นเพลงได้อย่างดังกระหึ่มกว่าการเปิดด้วยลำโพงจิ๋วของสมาร์ตโฟนเอง รวมถึงดังกว่าลำโพงของโน้ตบุ๊กบางรุ่นอีกด้วย ซึ่งการออกแบบมาให้ไม่มีสายมาเกะกะ ก็ช่วยให้สะดวกต่อการจัดวาง เคลื่อนย้าย และใช้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ตโฟนที่คุณสามารถถือใช้งานอย่างอื่นต่อได้ในขณะที่เล่นเพลง เพื่อสร้างความหรรษากับเพื่อน ๆ ที่ไปเที่ยวด้วยกัน
    เรายังได้เห็นเทคโนโลยีไร้สายไปติดตั้งอยู่ในรถยนต์หลายรุ่น ในส่วนของเครื่องเสียงที่มักจะให้วิทยุพร้อมการเชื่อมต่อ Bluetooth ได้ในตัวเพื่อรับสายในขณะขับรถ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับรถ เพิ่มความสะดวกกับผู้ใช้ และอาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ที่มีความลับเยอะ ๆ ทั้งหลาย เพราะรับที่ได้ยินกันทั้งรถนะครับ
    แม้ว่า Bluetooth จะเป็นเทคโนโลยีที่สะดวกที่สุด แต่ข้อจำกัดหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือคุณภาพเสียง เนื่องจาก Bluetooth เป็นการส่งข้อมูลระยะใกล้ ความเร็วไม่สูงมาก ข้อมูลเสียงจึงจำเป็นต้องถูกบีบอัดมากหน่อยเพื่อให้ส่งข้อมูลได้อย่างราบรื่น คุณภาพเสียงที่ได้จึงถูกบีบขนาดที่นักฟังเพลงอาจจะรับไม่ได้ ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงหันกลับไปใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อปกติแทน
    ล่าสุดกับ iPhone7/ 7 Plus ที่มีการตัดช่องหูฟังออกไป แล้วเสริมเข้ามาด้วยชิป W1 ซึ่งเป็นชิปที่ควบคุมการส่งข้อมูลเสียงผ่านระบบไร้สายไปยังหูฟัง AirPod รุ่นใหม่ล่าสุดเช่นเดียวกัน โดยไม่พึ่งพา Bluetooth อีกต่อไป ผลที่ได้คือคุณภาพเสียงดีขึ้น เพราะถูกบีบอัดน้อยลง และอาจจะใช้เทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับพวก WiFi-Direct เพื่อให้ส่งข้อมูลได้มากขึ้น แต่ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไร ก็ต้องใช้ชิป W1 ด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นคุณต้องมี iPhone7 ก่อน ส่วนหูฟังตอนนี้มี AirPod ตัวเดียว และจะมีตามออกมาในอนาคตเร็ว ๆ นี้แน่นอน รวมถึงราคาก็คงแพงแน่นอนเช่นเดียวกัน

    DLNA เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ dlna

       DLNA (Digital Living Network Alliance) เป็นชื่อเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานหรือข้อตกลงการเชื่อมต่อเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆแบบไร้สาย ทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอ และอื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ สามารถแชร์ซึ่งกันและกันได้ ไม่ว่าจะดูภาพยนต์ ดูภาพถ่าย ดูวีดีโอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ มือถือ tablet หรือในกล้องให้จอใหญ่ขึ้น ดูได้หลายคน ก็แค่แชร์ขึ้นไปบนทีวีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย การประชุมในห้องประชุมก็จะสะดวกขึ้น ผู้ที่ร่วมประชุม สามารถส่งภาพ หรือวีดีโอ ขึ้นไปแสดงบนจอสมาร์ททีวีในห้องประชุมเพื่อประกอบการนำเสนอได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้สายต่อให้วุ่นวาย
         เทคโนโลยี DLNA นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY ปัจจุบันนี้มีสมาชิก 225 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น LG Samsung Huawei intel Motorola cisco hp ericsson และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง LG ใช้ชื่อ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้
       ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analog เชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้
    โดย smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง Wi-Fi เดียวกันกับทีวี ด้วย
      สำหรับวิธีแสดงวีดีโอหรือรูปภาพออกสู่จอสมาร์ททีวีด้วยเทคโนโลยี DLNA นี้ ทำได้ง่ายๆ
    ขั้นแรกก็ เชื่อมต่อมือถือ smart Phone ที่รองรับ DLNA กับ Wi-Fi ที่อยู่ในวงเดียวกันกับที่ทีวีเชื่อมต่ออยู่ โดยตัวทีวีแบบสมาร์ททีวีนั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับ network ด้วย Wi-FI dongle หรือจะเสียบผ่านสาย LAN ก็ได้ และยิ่ง บางรุ่นที่ราคาแพงงหน่อยก็มี Wi-Fi built-in มาเลยในตัวทีวี
         จากนั้น ลองเลือกรูปภาพ หรือวีดีโอในมือถือของเรา จากนั้น ก็กดปุ่ม ที่แชร์ผ่าน… เพื่อแสดงเมนูขึ้นมาบนมือถือ LG ก็จะเจอกับปุ่ม Smart Share นี้จะมาพร้อมอยู่แล้วติดอยู่กับมือถือเลย โดยไม่ต้องโหลดผ่านทาง Google Play แต่พวก DLNA ในมือถือเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากับมือถือราคาระดับกลางๆ จนถึงราคาระดับแพงๆ
    เมื่อเลือก smartshare เพื่อนำฉายภาพผ่านทาง DLNA ก็จะเจอรายชื่อของอุปกรณ์ที่เราจะแชร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่รองรับ DLNA นี้ ก็เลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ เช่นผ่านทีวีก็เลือกรหัสรุ่นของทีวีนี้ เพียงแค่นี้ ภาพ หรือวีดีโอที่เลือก ก็จะปรากฏบนทีวีแล้ว และยังสามารถแชร์จากคอมพิวเตอร์ หรือ กล้องดิจิตอล ที่มี DLNA นี้ ให้ขึ้นบนทีวีก็ได้ด้วยเช่นกัน และเทคโนโลยี DLNA นี้นำมาทำเป็น MediaCenter เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน



    Miracast

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ miracast 

    Miracast เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายจากอุปกรณ์ต่างๆ (เช่นแล็ปท็อปแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน) เพื่อแสดง (เช่นทีวีจอภาพหรือโปรเจ็กเตอร์) ในปีพ. ศ. 2555 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าเป็น " HDMI over Wi-Fi " แทนที่ สายเคเบิลจากโทรศัพทไปที่จอแสดงผล 
    Wi-Fi Alliance ได้ เปิดตัวโปรแกรมการรับรอง Miracast เมื่อปลายปี 2012  อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรอง Miracast สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่คำนึงถึงผู้ผลิต อะแดปเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์ที่เสียบเข้ากับพอร์ต HDMI หรือ USB ทำให้อุปกรณ์ที่ไม่มีการสนับสนุน Miracast ในตัวเพื่อเชื่อมต่อผ่าน Miracast  โดย 2017, Computer World ตั้งข้อสังเกตว่า "มิราเคิลไม่เคยติดบนมาตรฐาน" กับระบบปฏิบัติการ Android ที่ได้รับการสนับสนุนลดลงในปี 2015 แล้ว 
    Miracast ใช้มาตรฐาน Wi-Fi Direct แบบ peer-to-peer ช่วยให้สามารถส่ง วิดีโอ HD ขนาด 1080p (codec H.264 ) และ เสียงเซอร์ราวด์ 5.1 ( AAC และ AC3 เป็นตัวแปลงสัญญาณที่ไม่จำเป็น codec ที่กำหนดคือการปรับสัญญาณ พัลส์เชิงเส้น - 16 บิต 48 kHz 2 ช่อง)  การเชื่อมต่อถูกสร้างขึ้นผ่านทาง WPS ดังนั้นจึงปลอดภัยด้วย WPA2 IPv4 ใช้ใน ชั้นอินเทอร์เน็ต บนชั้นการขนส่งใช้ TCP หรือ UDP ใน เลเยอร์แอ็พพลิเคชัน สตรีมจะเริ่มต้นและควบคุมผ่าน RTSP , RTP สำหรับการถ่ายโอนข้อมูล 

    สารบัญ

    • 1 อุปกรณ์
    • 2 Functionality / ฟังก์ชันการทำงาน
      • 2.1 ประเภทของสื่อที่สตรีม
        • 2.1.1 แสดงความละเอียด
        • 2.1.2 วิดีโอ
        • 2.1.3 เสียง
    • 3 Version history / ประวัติศาสตร์ฉบับ
    • 4 ประเด็น
    • สนับสนุนระบบปฏิบัติการ 5 ระบบ
      • 5.1 Windows
      • 5.2 iOS และ MacOS
      • 5.3 Linux desktop
      • 5.4 Android
    • 6 See also / ดูเพิ่มเติม
    • 7 References / รายการอ้างอิง
    • 8 External links / แหล่งข้อมูลอื่น

    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

    Wi-Fi Alliance มีรายชื่ออุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองซึ่งมีจำนวนมากกว่า 6,700 ราย ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560 
    Nvidia ประกาศสนับสนุนแพลตฟอร์ม Tegra 3 ของพวกเขาในปี 2012  และ Freescale Semiconductor , Texas Instruments , Qualcomm , Marvell Technology Group และผู้จัดจำหน่ายชิพรายอื่น ๆ ยังได้ประกาศแผนการที่จะสนับสนุน  แอ็คชั่นเทคอิเล็กทรอนิคส์ยังสนับสนุน Miracast ด้วยผลิตภัณฑ์ Screenbeam
    อุปกรณ์ทั้งสอง (ผู้ส่งและผู้รับ) จะต้องได้รับการรับรอง Miracast สำหรับเทคโนโลยีในการทำงาน อย่างไรก็ตามเพื่อสตรีมเพลงและภาพยนตร์ไปยังอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการรับรองอุปกรณ์อะแดปเตอร์ Miracast มีให้เสียบเข้ากับ พอร์ต HDMI หรือ USB 
    เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2012 Google ได้ ประกาศว่า Android เวอร์ชัน 4.2 ขึ้นไป (จาก Jelly Bean รุ่นล่าสุด) กำลังสนับสนุนมาตรฐานการแสดงผลแบบไร้สาย Miracast และโดยค่าเริ่มต้นจะรวมเข้าด้วยกัน  ด้วย Android 6.0 Marshmallow ซึ่งเปิดตัวในปีพ. ศ. 2558 การสนับสนุน Miracast ได้ลดลงอีกครั้ง 
    เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2013 เป็นต้นไป LG Nexus 4 และ Sony Xperia Z, ZL, T และ V ได้สนับสนุนฟังก์ชันนี้อย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับ HTC One โมโตโรล่า ในกลุ่ม Droid Maxx & Ultra และ Samsung ใน Galaxy S III และ Galaxy Note II ภายใต้ AllShare ของ ชื่อเล่น Galaxy S4 ใช้ Samsung Link ในการติดตั้ง  ในเดือนตุลาคม 2013 BlackBerry ได้ เปิดตัวการอัปเดต 10.2.1 ไปยังอุปกรณ์ BlackBerry 10 ที่มีอยู่ในขณะนั้น ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2015 BlackBerry Q10 , Q5 , Z30 และรุ่นที่ใหม่กว่าสนับสนุน Miracast streaming; BlackBerry Z10 ไม่สนับสนุน Miracast เนื่องจากข้อ จำกัด ของฮาร์ดแวร์ 
    ในเดือนเมษายนปี 2013 ร็อคชิพ เปิดตัวอะแดปเตอร์ Miracast ที่ขับเคลื่อนโดย RK2928 
    ไมโครซอฟท์ยังเพิ่มการสนับสนุนสำหรับ Miracast ใน Windows 8.1 (ประกาศในเดือนมิถุนายน 2013) และ Windows 10  ฟังก์ชันนี้เป็นครั้งแรกใน Windows 8.1 Preview และมีอยู่ในฮาร์ดแวร์ที่รองรับไดรเวอร์ Miracast จากฮาร์ดแวร์ (GPU) ผู้ผลิตเช่นที่ระบุไว้ข้างต้น
    WDTV Live Streaming Media Player เพิ่มการสนับสนุน Miracast ด้วยเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่น 2.02.32
    Amazon Fire TV Stick ซึ่งเริ่มจัดส่งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2014 สนับสนุน Miracast
    การ สั่น Roku และ Roku TV เริ่มให้การสนับสนุน Miracast เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2014 
    ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2013 Google ได้ประกาศเปิดตัว Chromecast ที่ ขับเคลื่อนโดย Marvell DE3005-A1 แต่แม้จะมีชื่อคล้ายคลึงกันและการสนับสนุน Miracast ใน Android เป็นครั้งแรก Chromecast ไม่สนับสนุน Miracast ก็ตาม
    ณ ปลายเดือนเมษายนปีพ. ศ. 2516 Ubuntu Touch ได้เปิดตัว Meizu Pro 5 Miracast ใน OTA-11

    การทำงาน

    เทคโนโลยีได้รับการสนับสนุนให้ทำงานในทุกอุปกรณ์โดยไม่คำนึงถึงแบรนด์ อุปกรณ์ Miracast เจรจาการตั้งค่าสำหรับการเชื่อมต่อแต่ละครั้งซึ่งช่วยลดขั้นตอนสำหรับผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัน obviates ต้องกังวลเกี่ยวกับรูปแบบหรือรายละเอียด ตัวแปลงสัญญาณ  Miracast คือ "มีประสิทธิภาพสาย HDMI แบบไร้ สาย คัดลอกทุกอย่างจากหน้าจอหนึ่งไปยังอีกจอหนึ่งโดยใช้ตัวแปลงสัญญาณ H.264 และเลเยอร์ การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล (DRM) ของตัวเองที่เลียนแบบระบบ HDMI" Wi-Fi Alliance แนะนำว่า Miracast อาจถูกใช้โดย กล่องรับสัญญาณ ที่ต้องการ สตรีม เนื้อหาไปยังทีวีหรือแท็บเล็ต

    ประเภทของสื่อสตรีมมิ่ง

    Miracast สามารถสตรีมวิดีโอที่อยู่ใน รูปแบบ 1080p สื่อที่มี DRM เช่น ดีวีดี รวมทั้งสตรีมมิ่งเนื้อหาพรีเมียมที่ได้รับการป้องกันซึ่งจะทำให้อุปกรณ์สามารถสตรีมภาพยนตร์และวัสดุที่มีการป้องกันด้วยสำเนาอื่น ๆ ได้ ทำได้โดยการใช้กลไกเนื้อหาที่เชื่อถือได้เหมือน Wi-Fi ที่ใช้กับการเชื่อมต่อ HDMI และ DisplayPort แบบ ใช้สายเคเบิล

    ความละเอียดจอแสดงผล

    • 27 รูปแบบ Consumer Electronics Association (CEA) จาก 640 x 480 ถึง 4096 x 2160 พิกเซลและตั้งแต่ 24 ถึง 60 เฟรมต่อวินาที (fps)
    • 34 รูปแบบวิดีโอสมาคมมาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์ (VESA) จาก 800 x 600 ถึง 2560 x 1600 พิกเซลและ 30 ถึง 60 เฟรมต่อวินาที
    • 12 รูปแบบมือถือตั้งแต่ 640 x 360 ถึง 960 x 540 พิกเซลและ 30 ถึง 60 เฟรมต่อวินาที
    • บังคับ: 1280 x 720p30 (HD)
    • อุปกรณ์เสริม: 3840 x 2160p60 (4K Ultra HD)

    วิดีโอ

    ข้อกำหนด: ITU-T H.264 (วิดีโอขั้นสูงการเข้ารหัส [AVC]) สำหรับวิดีโอ HD และ Ultra HD; สนับสนุนโปรไฟล์หลายรูปแบบในการแปลงรหัสและโหมดที่ไม่ใช่การแปลงรหัสข้อมูลรวมทั้งโปรไฟล์พื้นฐานที่ จำกัด (CBD) ในระดับตั้งแต่ 3.1 ถึง 5.2
    ทางเลือก: ITU-T H.265 (High Coding Video Coding [HEVC]) สำหรับวิดีโอ HD และ Ultra HD; สนับสนุนโปรไฟล์หลายรูปแบบในการแปลงรหัสและโหมดที่ไม่ใช่การแปลงรหัสรวมถึงโปรไฟล์หลัก, หลัก 444, SCC-8 บิต 444, หลัก 444 10 ในระดับตั้งแต่ 3.1 ถึง 5.1

    เสียง

    ตัวแปลงสัญญาณเสียงที่ได้รับการยอมรับ: การมอดูเลตรหัสพัลส์เชิงเส้น (LPCM) 16 บิต, การสุ่มตัวอย่าง 48 kHz, 2 แชนเนล
    ตัวแปลงสัญญาณเสียงที่เป็นตัวเลือก ได้แก่ :
    • โหมด LPCM 16 บิต, การสุ่มตัวอย่าง 44.1 kHz, 2 แชนเนล
    • โหมดการเข้ารหัสเสียงขั้นสูง (AAC)
    • โหมด Dolby Advanced Codec 3 (AC3)
    • E-AC-3
    • Dolby TrueHD, โหมด Dolby MAT
    • โหมด DTS-HD
    • โหมด MPEG-4 AAC และ MPEG-H 3D Audio
    • AAC-ELDv2

    ประวัติรุ่น

    รุ่น วันที่ ข้อสังเกต 
    1.0     24-08-2012      รุ่นเผยแพร่แบบสาธารณะ
    1.1       24-04-2014      เผยแพร่สาธารณะสำหรับการอัปเดต HDCPv2.2
    2.0   21-04-2017      วางจำหน่ายเวอร์ชันล่าสุด 2 ฉบับ
    2.1   31-07-2017        แก้ไขข้อผิดพลาดของส่วนหัวในหัวข้อ 4.3 และ 4.4     นำการอ้างอิงไปยัง Miracast

    ประเด็นปัญหา

    การรับรองยังไม่กำหนดเวลาแฝงสูงสุด (เช่นเวลาระหว่างการแสดงภาพบนซอร์สโค้ดและการแสดงภาพที่มิเรอร์บนจอแสดงการซิงค์)

    การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ

    Windows

    รุ่นล่าสุดของ Windows 10 สนับสนุนการรับ Miracast พร้อมกับการสนับสนุน UIBC เพื่อให้สามารถใช้งาน อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์ (หน้าจอสัมผัสเมาส์คีย์บอร์ด) เพื่อเชื่อมต่อแบบไร้สาย Windows 8.1 รองรับการกระจายเสียง / ส่งภาพผ่าน Miracast Miracast มีอยู่ใน Windows Phone 8.1 นักพัฒนายังสามารถใช้ Miracast ที่ด้านบนของการสนับสนุน Wi-Fi Direct ในตัวใน Windows 7 และ Windows 8  อีกวิธีหนึ่งในการสนับสนุน Miracast ใน Windows คือ WiDi ที่ เป็นกรรมสิทธิ์ของ Intel (v3.5 หรือสูงกว่า) เครื่องรับ Miracast ที่ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับ Windows 8.1 AirServer Universal ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2014 โดย App Dynamic 

    iOS และ MacOS

    Apple ไม่สนับสนุนมาตรฐาน Miracast บน iOS หรือ macOS แทนการใช้โปรโตคอล AirPlay แบบ peer-to-peer ที่ เป็นกรรมสิทธิ์ ของตัวเอง

    เดสก์ทอป Linux

    MiracleCast  ให้การสนับสนุน Miracast แต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับโปรโตคอลเดียว

    Android

    การสนับสนุน Miracast ได้รับการติดตั้งลงใน Android พร้อมกับเวอร์ชัน 4.2  และเริ่มต้นด้วย Android 4.4 อุปกรณ์เหล่านี้สามารถได้รับการรับรองมาตรฐานการแสดงผล Wi-Fi Alliance ว่าสามารถใช้งานร่วมกับ Miracast ได้  การสนับสนุนถูกลดลงอีกครั้งด้วย Android 6.0 Marshmallow ในปี 2015 ในส่วนของโปรโตคอล Google Cast ของ Google 
    Miracast ยังได้รับการสนับสนุนโดยระบบปฏิบัติการ BlackBerry ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.2.1 เป็นต้นไป

    ezCast Display (Windows, iOS, Android)
    EZ Cast HDMI Dongle
    อุปกรณ์ ที่สามารถเปลี่ยน TV ธรรมดาๆ ของคุณ ให้คุณสามารถเชื่อมต่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ และสามารถดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้โดยการควบคุมผ่าน Smart Phone (Android/Iphone),Tablet และคอมพิวเตอร์ และยังสามารถแชร์ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์ Document Ebook หรือแม้กระทั้งเกมส์ เข้าสู่จอ TV ได้อีกด้วย
    EZ Cast HDMI Dongle

    คุณสมบัติ

    • สามารถเชื่อมต่อกันแบบไร้สายระหว่างTV และสมาร์ทโฟนเพื่อแชร์ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์เอกสาร หรือไฟล์เสียง
    • สนับสนุน ezCast,DLNA,Miracast,EZAir(Airplay),ควบคุมและถ่ายทอดหน้าจอเพียงกดแค่ปุ่มเดียว
    • มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก
    • สนับสนุน Wifi 802.11 b/g/n
    • สนับสนุน HDMI 1.4,1080P Full HD
    • สนับสนุน อัพเดทออนไลท์
    • สนับสนุนระบบปฎิบัติการ Window,Android,IOS
     
     HDMI Dongle Wifi Display Receiver Wecast 5G
     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ HDMI Dongle Wifi Display Receiver Wecast 5G
    ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างหรือขยายปรับขนาดเครือข่ายความเร็วสูงไร้สายที่ไม่มีหรือการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น เกมคอนโซล อะแดปเตอร์ สื่อดิจิตอล เครื่องพิมพ์ หรือเครือข่ายไร้สายที่มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ตัวกระจายสัญญาณสนับสนุนฟังก์ชั่นของโฮสต์ที่แตกต่างกัน ทำให้พบกับโครงข่ายไร้สายของคุณที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตอนนี้คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น
    คุณสมบัติสินค้า
    • 100% new brand and high quality
    • Support Android, ISO, Windows, Mac Muitiple systems
    • Work with projectors, smartphones, tablets, laptops devices
    • Mini, small-size, lightweight, convenient for travelling
    • System Support: Windows 8.1 or above laptop, Mac 10.8 or above laptop
    • Material: plastic, metal
    • Size: Approx 95 x 33 x 7mm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยที่ 5

สแกนเนอร์