Power Supply

จัดทำโดย นางสาว บุญสิตา   อินทร์พรม  รหัสนักศึกษา 6031280051

Power Supply 

การคำนวณ วัตต์

จะเป็น 600W บ้าง 550W บ้าง เลยอยากจะทราบวีธีการคำนวณครับ ไม่ต้องเอาเป๊ะก็ได้ครับ แต่พอคร่าวๆให้รู้ว่าสเปคประมาณนี้ต้องใช้ power supply อย่างน้อยกี่ Watt
จากตัวอย่างสเปคที่ผมลองคำนวณ คือ
i5 6500
Ram 8 GB (4x2)
HDD WD10 EZEX 1TB (7200rpm)
VGA Nvdia GTX 950
Case Zalman ซึ่งคุ้นๆว่า spec บอกว่ามีพัดลม 92mm 3 9ตัว


ขั่วต่อ

หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ คือหัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ด(Mainboard)ทุกรุ่นนั้นต้องมี เป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด(Mainboard) เมื่อก่อนหัวต่อ ATX จะเป็นแบบ 20 ช่อง(2 แถว แถวละ 10 ช่อง) ปัจจุบันจะเป็น 24 ช่อง(2 แถว แถวละ 12 ช่อง)โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้น

 

 

หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อชนิดนี้จะเพิ่มการจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวต์ขึ้นมาซึ่งเมนบอร์ด(Mainboard)ทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้ว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V

 

การติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลาย Power Supply


หลายคนที่เลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ๆ ราคาแพง  ที่มักจะมีการดีไซน์ที่หรูหรา สวยงาม มักให้ความสำคัญกับการติดตั้งเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะคนที่ใช้เคสที่ต้องการโชว์ความสวยงามให้เพื่อนๆ หรือใครต่อใครเห็นภายในด้วยแล้ว ยิ่งไม่อยากเห็นเพาเวอร์ซัพพลายตัวเก่งเป็นรอยแน่นอน


แล้วจะทำอย่างไรเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดรอยขึ้น  บนเพาเวอร์ซัพพลายตัวเก่งของคุณ  ในระหว่างที่ทำการติดตั้งลงบนเคส  เคล็ดลับนี้เป็นเคล็ดลับง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำเองได้  และยังเป็นการช่วยลดปัญหาระหว่างที่ทำการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายด้วย


          - เลือกเคสที่กว้างเข้าไว้  หรือจะเป็นเคสที่มีการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ด้านล่างของเคส  ซึ่งจะปลอดภัยมากครับ  เหตุเพราะหากเป็นเคสที่มีความกว้างแล้ว  ก็จะมีช่องทางมากพอที่จะให้เราเลื่อน เคลื่อนไหว  หรือขยับเพาเวอร์ซัพพลายและมือของเราได้ง่าย  ไม่ต้องขยับมากก็ได้ที่  ปัจจุบันเคสแบบ  Medium Tower  พื้นที่ดังกล่าวจะไม่ถูกปิดกั้นด้วยอุปกรณ์ใดๆ  ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่โล่ง จะมีก็แต่เพียงสายสัญญาณเท่านั้นเอง  เมื่อจัดเก็บเข้าที่ดีๆ ก็แทบจะทำให้เราไม่ต้องกังวลเลยว่า  เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของเราจะเป็นรอยอีกด้วย

          - ถ้าเลือกเคสที่กว้างไม่ได้จริงๆ หรือเป็นเคสเดิมที่ใช้อยู่แล้ว  ก็ให้เซฟด้วยการติดกระดาษกาวที่มุมและขอบต่างๆ  ของเพาเวอร์ซัพพลายและติดที่ส่วนต่างๆ ขอบที่อยู่ภายในเคสด้วย  ซึ่งไม่ต้องกังวลเลยว่าจะมีคราบของกาวเหนียวๆ  ติดที่เคส หรือติดที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวโปรดของคุณ  เพราะหากเลือกกระดาษกาวดี  อาจจะใช้กระดาษกาวแบบ  Nitto  ที่ใช้ในงานศิลป์ก็ได้  โดยติดตามขอบและมุมต่างๆ ทั้งตัวของเพาเวอร์ซัพพลายเอง และภายในของเคสที่คาดว่าใกล้จุดที่ติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลาย  หรือใช้เทพใสคุณภาพดีหน่อย  ติดที่ขอบมุมเพื่อป้องกันการกระแทกด้วยก็ได้เช่นกัน  เมื่อติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้แกะออกครับ

         - ดูตามความเหมาะสมของเคส  ซึ่งบางรุ่นควรที่จะติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปก่อน แล้วค่อยติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นอื่นตามทีหลัง  เพราะบางครั้งเคสที่มีขนาดเล็ก  การที่จะจับเพาเวอร์ซัพพลายเข้าไปหลังสุดนั้น คงไม่ดีแน่ๆ  เพราะนอกจากจะติดทั้งอุปกรณ์และสายที่จัดไว้ ทำให้ไม่สะดวกในการติดตั้งแน่นอน  แต่บางรุ่นการติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายทีหลังสุดก็จะปลอดภัยกว่า  เช่นเคสที่มีพื้นที่ติดตั้งเหลือพอ  รวมไปถึงเพาเวอร์ซัพพลายที่สามารถถอดสายได้  การติดตั้งทีหลังจะช่วยให้การจัดเก็บสายภายในเคสทำได้ง่ายยิ่งขึ้น  ไม่จำเป็นต้องต่อใช้ทุกเส้น ต่อเฉพาะเส้นที่ใช้เท่านั้น

          - ถ้ามีอุปกรณ์ใดที่จะช่วยให้การติดตั้งเพาเวอร์ซัพพลายนั้นง่ายขึ้น  ก็ควรที่จะประกอบเข้าไปด้วย  เช่น ขอบยางกันรอย  ซึ่งมักจะมีมาให้พร้อมกับเพาเวอร์ซัพพลายราคาสูงส่วนใหญ่  ถ้าไมอยากให้เกิดริ้วรอยแต่เพาเวอร์ซัพพลาย ก็ควรจะติดตั้งลงไปก่อน 

 






Harddisk

ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (อังกฤษ: hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง 

 

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกเรื่มต้นแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน โดยมีความจุเริ่มแรกที่ 100 กิโลไบต์ มีขนาด 20 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2523 ฮาร์ดดิสก์ยังเป็นสิ่งที่หายากและราคาแพงมาก แต่หลังจากนั้นฮาร์ดดิสก์กลายเป็นมาตรฐานของพีซีและราคาถูกลงมาก
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของฮาร์ดดิสก์จากปี 1980 ถึงปัจจุบัน
  • ความจุเพิ่มขึ้น จาก 3.75 เมกะไบต์ เป็น 3 เทระไบต์
  • ขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก
  • ราคาต่อความจุถูกลงมาก
  • ความเร็วเพิ่มขึ้น


ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
  • ขนาด 8 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
  • ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปท็อป, UMPC, เน็ตบุ๊ก, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์
  • ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร)
ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่าง ๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN (Storage area network) เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล



หน้าจอ 


หน้าจอ LCD คืออะไร?
หน้าจอ LCD (Liquid Crystal Display)เป็นหน้าจอที่ใช้การแสดงผลแบบดิจิตอล และใช้วัตถุที่มีลักษณะเป็นของเหลวแทนการใช้หลอดภาพแบบหน้าจอ CRT ในอดีต และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการสร้างแสงสว่าง ภาพที่จะปรากฏบนหน้าจอ เกิดจากฉายแสงของ Back Light ที่ฉายผ่านชั้นกรองแสง และส่งผ่านไปยังคริสตัลที่เป็นของเหลว 3 ส่วนคือ สีแดง เขียว และน้ำเงินตามลำดับจนสามารถสร้างให้ภาพมีลักษณะออกมาเป็นพิกเซลได้ ภาพจาก LCD จะดูว่างและคมชัดอย่างมาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน้าจอ lcd

หน้าจอ LED คืออะไร?
หน้าจอ LED (Light Emitting Diode)ใช้ระบบการฉายภาพด้วยหลอดไฟขนาดเล็ก ซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีของหลอดไฟ LED ไปใช้กับการทำเป็นไฟท้ายรถของรถยนต์ชื่อดังอย่าง Honda อีกด้วย โดยต้นกำเนิดของการใช้การฉายภาพแบบนี้ก็คือ หลอด LED จะทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดแสง และมีผลึกคริสตัลที่เป็นของแข็งกึ่งเหลว 3 สีคือสีแดง น้ำเงินและเขียว คอยบิดตัวกันเป็นองศาและเพื่อให้แสงไฟจากหลอด LED ส่องผ่านมาเพื่อทำให้ฉายออกไปเป็นภาพสีสันที่สวยงามบนหน้าจอได้นั่นเอง
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน้าจอ led

Keyboard 

แป้นพิมพ์เสมือน

แป้นพิมพ์เสมือนหรือแป้นพิมพ์ “บนหน้าจอ” เปิดโอกาสให้คุณพิมพ์ในสคริปต์ภาษาท้องถิ่นได้โดยตรงด้วยวิธีที่ง่ายและไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใด ประโยชน์โดยทั่วไปของการใช้แป้นพิมพ์เสมือนมีดังนี้
  • ช่วยให้สามารถพิมพ์ในภาษาของตนเองบนแป้นพิมพ์ภาษาต่างประเทศ อย่างเช่น เมื่อเดินทางไปต่างประเทศหรืออาศัยอยู่ในประเทศอื่น
  • ช่วยให้ได้รับประสบการณ์การพิมพ์ที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยการพิมพ์โดยใช้การคลิกบนหน้าจอ
  • เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการสลับไปมาระหว่างการเข้ารหัสข้อความและ/หรือชุดตัวอักษรที่ต่างกัน

     

    Mouse

     เมาส์ (อังกฤษ: mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ กัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
    การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
    การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse)
    เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมาส์

     

    อ้างอิง

    https://pantip.com/topic/35075146
    http://itsentre.blogspot.com/2013/03/power-supply.html
    https://www.factomart.com/th/factomartblog/how-to-install-switching-power-supply/
    https://th.wikipedia.org/wiki/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรเจคเตอร์ (Projector)

สแกนเนอร์

หน่วยที่ 5